ถ้าคุณเคยไปชมงาน Art เราอยากชวนคุณมาชมงาน Arch กันบ้าง เพราะศิลปินกับสถาปนิก ต่างก็เป็นนักสร้างสรรค์ที่มีพลัง และเข้าถึงได้ ไม่ต่างกัน

Thematic Pavilion’ คืออะไร?

‘Thematic Pavilion’ คือแลนด์มาร์กที่คุณต้องแวะไป checkin กันในงานสถาปนิก เพราะนี่คือ Public Space ในงานที่สถาปนิกมาปล่อยของ ครีเอตวัสดุจากแบรนด์ดังในแบบที่คุณต้องเหลียวหลัง เพราะพวกเขาจะใช้ไอเดียพลิกแพลงให้ออกมาอยู่ในโฉมหน้าที่คุณไม่คุ้นเคยและบอกได้เลยว่างานนี้หาดูในไทยไม่ได้ง่ายๆ

ที่สำคัญ Line up ของแต่ละสตูดิโอทั้ง 4 ที่เข้าร่วมออกแบบยังเป็นเจ้าของผลงานที่คุณอาจจะเห็นผลงานของพวกเขาผ่านตากันมาแล้วและกำลังติดตามของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น

PAVA architects – Hypothesis – ACa Architects – Context Studio

ใครที่อยากรู้ว่า Thematic Pavilion จากสตูดิโอแต่ละแห่งมีหน้าตาแบบไหน พวกเขาได้ทำงานร่วมกับแบรนด์ใด ก่อนเข้าสู่งานจริงปลายเดือนหน้า เราเปิดรอบ 3D Virtualization และเผยคอนเซ็ปต์ไอเดียให้คุณดูไว้เป็นน้ำจิ้ม แต่อย่าลืมไปเก็บงานจริง เข้าชมฟรี! กันได้ที่งานสถาปนิก’66 เพราะของจริงสวยแบบตรงปกไม่จกตา

นอกจากนี้ เมื่อเข้าไปในงานแล้วคุณยังสามารถร่วมโหวต Thematic Pavilion ในดวงใจ เพื่อเป็นกำลังใจให้รางวัลสถาปนิกผู้สร้างสรรค์ได้ เพราะผู้ที่ได้รับผลโหวตสูงสุดของงานนี้จะได้รางวัล Thematic Pavilion of the Year 2023 ไปครอง

PAVA architects X WOODEN

Material: Teak

สัจจะวัสดุจากธรรมชาติ ที่น่าหลงใหลและมีความยูนีคอย่างไม้ โดยเฉพาะ ‘ไม้สัก’ ซึ่งเป็นวัสดุที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มีโอกาสสัมผัส ครั้งนี้นำมาบอกเล่าเรื่องราวด้วยการสร้างสรรค์จาก PAVA ให้ได้สัมผัสกันอย่างใกล้ชิด

Pavilion แห่งนี้สร้างในรูปแบบ enclosed space ที่เมื่อก้าวเข้ามาคุณจะได้สัมผัสความสงบจากป่าไม้สักคอนทราสต์กับบรรยากาศภายนอก ด้านในพบกับวงจรชีวิตของไม้สักในมุมที่ไม่เคยสัมผัส นิเวศของ “ไม้สัก” จากต้นน้ำที่ยังไม่ผ่านกระบวนการผลิต กระทั่งค่อยๆ เปิดเปลือยเปลือกไม้ทีละชั้นออกเป็นท่อนวัสดุที่คุ้นตา เส้นทางการเดินจะนำคุณไปสู่ปลายน้ำอีกฝั่งใน Zone Exhibitor ที่โชว์ปลายทางของไม้ที่ผ่านกระบวนการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ

นอกจากนี้ประเด็นความสงสัยในใจของใครหลายคนอย่าง “การเลือกใช้ไม้หรือวัสดุธรรมชาติ จะช่วยสร้างความยั่งยืนและดูแลโลกได้อย่างไร” คำตอบจากภายในบูธจะเปลี่ยนทัศนคติเดิมของคุณไปโดยสิ้นเชิง

Hypothesis X TOA X VG

Material: C-Line, Gypsum, Tile, iR-uPVC Rain gutter, iR-uPVC Roof sheet

ที่ใดมี Hypothesis ที่นั่นก็มีอะไรน่าสนุกรออยู่อย่างแน่นอน สำหรับการเข้าร่วมสร้างสรรค์ Thematic Pavilion ในปีนี้ Hypothesis ลบภาพของวัสดุที่ต้องมาในรูปแบบโครงสร้างเดิมๆ ด้วยการออกแบบบูธให้มีความสมมาตร ตรงกลางมี​การติดตั้งพีระมิดกระจกรูปแบบน้ำผุด บูธแหน่งนี้สามารถเดินเข้ามาได้จากทุกทิศทาง มองภายในเห็นความต่างของวัสดุที่แขวนติดตั้งชัดเจนจากแต่ละแบรนด์ แต่มองภายนอกภาพรวมดูกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

จุดเด่น คือ การเพิ่มไดนามิกให้บูธด้วยการแต่งเติมเอฟเฟกต์จัดเต็มทั้งแสง สี และควัน ความเรียบของวัสดุสีขาวเมื่อประกอบเข้ากับเอฟเฟ็กต์ทั้งหมดนี้จะเปลี่ยนมู้ดของพื้นที่และอารมณ์ของคุณที่เข้าไปสัมผัสอย่างแน่นอน สำหรับใครที่อยากรู้ว่าที่มาของไอเดียทั้งหมดนี้มาจากอะไร อยากให้คุณมาหาคำตอบได้ที่งานด้วยตัวของคุณเอง

ACa Architects X Empower Steel

Material: Pre-painted Steel and Pattern painted steel

เปลี่ยนภาพจากเหล็กที่มีความแข็งแกร่งดุดันเป็นความพลิ้วไหว ปีนี้ ACa ถอดรหัสเหล็กที่แข็งแรงสู่โมเลกุลในยูนิตที่เล็กลงทรงเรขาคณิต เพื่อสื่อความเป็นธาตุโลหะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติที่มีความพลิ้วไหว งานสร้างสรรค์ Thematic Pavilion จึงมาในรูปแบบงานละเอียด โดยใช้เหล็กจาก Empower steel ที่มีนวัตกรรมทำสีและพิมพ์ลวดลายมาตัดเป็นชิ้นนับหมื่นแผ่น บากร่องเพื่อต่อขึ้นเป็นโครงสร้าง (Modular Structure)

ความเจ๋งของบูธนี้คือคุณจะได้เห็นการครีเอตยูนิตจากเหล็กออกมาเป็นฟอร์มที่น่าตื่นตาตื่นใจ เห็นการกระจายสีสันและดีไซน์ของแผ่นเหล็กจากหัวจรดเท้า เพราะที่พื้นเขาก็ทำจากแผ่นเหล็กด้วยสีต่างๆ ด้วยเช่นกัน ที่สำคัญเคล็ดลับอยู่ที่การใช้วัสดุเหล็กให้ปลอดภัยและมิติของความ sustainability ซึ่ง ACa Architect ต้องคำนวณทั้งความหนา ขนาด การเชื่อม การสร้างพื้นและการติดตั้งทุกมิติ กระซิบไว้สักนิดว่าด้านในเขามี Workshop ให้เล่นด้วยเพราะ Thematic Pavilion แห่งนี้อยากให้คุณเข้าใจและสนุกกับเหล็กมากขึ้นจริงๆ จะพลาดได้ไง!

Context Studio X Thai Premium Pipe X Thaikoon Steel Group

Material: Steel Pipe, Chain

ปิดท้ายด้วยการสร้างสรรค์งานเหล็กให้พลิ้วไหวในอีกรูปแบบ จาก Context Studio จับมือกับแบรนด์ Thai Premium Pipe และ Thaikoon Steel Group นำวัสดุชั้นนำได้แก่ ท่อและโซ่ ที่ผลิตจากเหล็กทั้งคู่ มาออกแบบเคลือบสี ทำให้ตัวงานออกมากลมกลืนและน่าสนใจ ชิ้นนี้งานสูงถึง 6 เมตร แต่พลิ้วอย่างน่าเชื่อ เพราะ Context ได้นำวัสดุมาสร้างรูปลักษณ์ใหม่ในพื้นที่จำกัดให้ตื่นตาตื่นใจ ด้วยวิธีการปรับองศาการติดตั้งท่อเหล็ก เปลี่ยนเส้นตรงให้อยู่ในทรงเกลียว (spiral) สอดประสานกันเพื่อให้มู้ดความพลิ้วไหวแต่ยังได้ฟังก์ชันที่คานกันสร้างความแข็งแรง ขณะที่ตัวโซ่และท่อได้รับการออกแบบเพื่อเป็นเฟอร์นิเจอร์ใหม่ที่ launch ในงาน เพื่อให้คนที่เข้ามาใน Pavilion สามารถนั่งพักได้และจับจองกลับบ้านได้

แง่ความปลอดภัยแน่นอนว่าได้รับการออกแบบคำนวณมาแล้วเช่นเดียวกัน เพราะมีการวางแผงโครงสร้างพื้นที่แข็งแรงแน่นหนา นอกจากนี้ดีไซเนอร์ยังเพิ่มฟังก์ชันสำหรับท่อเพื่อกระจายเสียงติดตั้งลำโพง การฝังพอร์ตต่างๆ เพื่อเพิ่มฟังก์ชันให้ตัวงานด้วยเพราะในนั้นจะมีสปีกเกอร์มาพูดเรื่องน่าสนใจให้คุณฟัง

งานสวยแบบนี้จัดแค่ไม่กี่วัน จะพลาดได้ไง อย่าลืมแวะไปชมกันฟรีๆ ได้ที่งานสถาปนิก’66 ระหว่างวันที่ 25-30 เม.ย. 66 ที่ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค

ลงทะเบียนเข้าชมงาน คลิก  http://bit.ly/3KfkItx

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here