หากพูดถึง “RPA – Robotic Process Automation” คนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงไอทีหรือดิจิทัลอาจมีงงกันบ้าง แต่หากพูดง่ายๆ ว่า RPA คือ โปรแกรมหุ่นยนต์อัตโนมัติ หรือ BOT นั้นเอง ที่สามารถทำงานเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ได้ผ่านคอมพิวเตอร์ หลายคนอาจจะนึกออกทันที เพราะเป็นโปรแกรมที่จะเข้ามาช่วยในการทำงานได้รวดเร็ว โดยเฉพาะการทำงานในรูปแบบซ้ำๆ เช่น การป้อนข้อมูลในปริมาณมาก ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำกว่ามนุษย์ โดยแนวคิดของ RPA ในการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยทำงานซ้ำๆ แทนพนักงาน

โดยผลลัพธ์ของการใช้ RPA ทำให้หลายๆ องค์กรสามารถลดปริมาณงานที่มากเกินไป รวมถึงลดชั่วโมงการทำงานของพนักงานลงได้อย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้พนักงานไปทำงานอื่นที่สำคัญยิ่งกว่าได้ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาดของคนที่ประหยัดไปได้ เป็นมูลค่ามหาศาล ทำให้เกิด Productivity และสร้างความพึงพอใจกับลูกค้าเพิ่มขึ้น ทำให้หลายๆ องค์กรที่ปรับเข้าสู่ Digital Transformation  ต่างต้องการคนทำงานในสายนี้มากขึ้น

สำหรับบทความนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับ 3 คนรุ่นใหม่ที่ทำงานสาย RPA Developerแห่ง STelligence จะมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการทำงานด้านนี้ ได้แก่

แพน  – นายณวรา ศิริจรัสวงศ์ ตำแหน่ง RPA Developer เริ่มงานกับ STelligenceมาได้   4 เดือน ซึ่งแพน บอกว่า ความรู้ที่เรียนมากับงานที่ทำ มีส่วนตรงกันเพียง 20% เพราะเขาจบจากคณะวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งไม่ตรงกับงานสายนี้

ซัน – นายณัฏฐากร อ่อนมั่ง ตำแหน่ง RPA Developer คร่ำหวอดในสายงานนี้มากที่สุดใน 3 คน เพราะจนถึงวันนี้ซันทำงานกับ STelligence มาได้ 1 ปีแล้ว งานที่ทำกับสายที่เรียนมาสำหรับซันเรียกว่าไม่ตรงกันเลยจริงๆ เพราะจบคณะวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และ ธาม – นายธรรมปพน ชาวสวน ตำแหน่ง RPA Developer ธามทำงานกับSTelligence    ได้ 10 เดือน ซึ่งสายที่เรียนมากับงานที่ทำตรงกันแค่ 30% เท่านั้นเอง เพราะจบจากคณะวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยทั้ง 3 คนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “การเริ่มงานสายนี้ ไม่ยากอย่างที่คิด”  ถึงจะไม่ได้จบสายงานด้าน Automation มาโดยเฉพาะ แต่ด้วยความสนใจในด้านนี้ทำให้พวกเขาอยากเรียนรู้งานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

อาชีพ “RPA Developer” ต้องพร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต

งาน RPA Developer เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการทำงานพัฒนาโปรแกรมอัตโนมัติให้ตอบโจทย์การทำงานของผู้ใช้ ประเภทงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานซ้ำๆ ภายในระยะเวลาอันสั้น เช่น การเช็กอีเมลและดาวน์โหลดไฟล์ เก็บข้อมูลจากระบบต่าง ๆ เพื่อทำรายงานประจำวัน การเปรียบเทียบข้อมูลจากระบบและไฟล์ Excel และกรอกแบบฟอร์มแสดงผล เป็นต้น ซึ่ง “ซัน –ณัฏฐากร” ได้บอกว่า การทำงานด้านนี้ต้องพัฒนาโปรแกรมที่เสมือนเป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติตามคำสั่งต่างๆ ของเจ้าของงานนั้นๆ ดังนั้น สิ่งสำคัญของคนทำงานสายนี้ คือ ต้องพร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะต้องมีความเข้าใจในการทำงานประเภทต่างๆ จึงต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม และแม้ว่าตัวเขาจะเรียนไม่ตรงสายด้านนี้มาโดยเฉพาะ แต่ตัวเขามีความสนใจในงานด้าน Tech มาโดยตลอด เมื่อได้มาทำงานที่ STelligence ซึ่งก็เปิดโอกาสให้เขาได้เข้ามาเรียนรู้ และพร้อมถ่ายทอดความรู้ให้แบบไม่มีกำแพงกั้น ซึ่งทุกคนก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ดูแลกันเหมือนพี่น้อง นี่คือสิ่งที่ STelligence ไม่เหมือนบริษัทอื่น

 สายธุรกิจที่ต้องการตัว “RPA Developer”

ด้วยผลลัพธ์ของการทำงาน RPA ให้มูลค่ามหาศาลแก่องค์กร ทำให้หลายธุรกิจต่างหันมาใช้งาน RPA กันมากขึ้น โดยปัจจุบันหลากหลายธุรกิจและอุตสาหกรรมมีการนำ RPA มาใช้งานในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น ได้แก่ ธนาคารและการเงิน โดยการใช้ RPA ในการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ โดยอัตโนมัติ, ธุรกิจค้าปลีกใช้ RPA ในการจัดการข้อมูลสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก Supplier, ภาครัฐ ใช้ RPA ในการจัดการข้อมูลจากแบบฟอร์มต่างๆ มาป้อนในระบบงานหลากหลายโดยอัตโนมัติ, แผนก HR ใช้ RPA ในการจัดการข้อมูลเงินเดือน, สวัสดิการ, การบริหาร และรายงานต่างๆ ด้านทรัพยากรบุคคล

แพน  – ณวรา RPA Developer ที่เด็กสุดในบรรดา 3 คน ได้บอกว่า เมื่อ RPA กลายเป็นที่ต้องการในหลายๆ ธุรกิจ ทาง STelligence จึงได้พัฒนาแพลตฟอร์ม Automation Anywhere ซึ่งถือว่าเป็นโซลูชัน RPA ระดับองค์กรที่ตอบโจทย์ทั้งการทำงานอัตโนมัติ, การบริหารจัดการการรองรับธุรกิจขนาดใหญ่ และความมั่นคงปลอดภัย โดยมุ่งเน้นการตอบโจทย์ด้านการใช้งานระบบ RPA ในธุรกิจองค์กรเป็นหลัก ซึ่งสำหรับตัวของเขาเองได้ทำงานกับ Automation Anywhere ของ STelligence อยู่แล้วซึ่งใช้ Low Code Software ทำให้การใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก จึงทำให้สามารถนำไปประยุกต์ในสายธุรกิจต่างๆ ได้

ความท้าทายของคนทำ “RPA Developer”

หลายครั้งที่ระบบ RPA ถูกตั้งคำถามในเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งถือว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของนักพัฒนา RPA ที่จะต้องพัฒนาโปรแกรมให้รัดกุม

สำหรับ ธาม –ธรรมปพน ได้บอกว่า การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาโปรแกรม RPA แต่ด้วยระบบของ Automation Anywhere ที่ STelligence ได้พัฒนาขึ้นนั้น ได้ถูกออกแบบให้ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงทรัพยากร หรือข้อมูลภายในระบบแตกต่างกันได้ ทำให้ถึงแม้จะมีพนักงานหลากหลายแผนกเข้ามาสร้าง Bot บนระบบเดียวกัน แต่พนักงานแต่ละคนจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของกันและกัน ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลสำคัญของธุรกิจจะไม่รั่วไหลข้ามแผนกอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของงานนี้ สำหรับ “ธาม” คือการเขียนโปรแกรม RPA ให้ระบบเรียนรู้ เนื่องจาก RPA เป็นประเภท Low Code Software ซึ่งมีเครื่องมือมาให้พร้อมใช้งาน โดยมีข้อดี คือใช้เวลาในการเรียนรู้น้อยกว่า แต่ขณะเดียวกันจะมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า Hard Code ที่เป็นการเขียนโปรแกรมที่ใช้ทักษะการเขียนโค้ดค่อนข้างหนักและละเอียดอ่อน แต่อาจจะใช้เวลาในการเรียนรู้ค่อนข้างมากและมีความจุกจิกมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ธามก็พร้อมที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง จึงไม่ใช้ปัญหาใหญ่ในการทำงาน

RPA Developer” อาชีพดาวรุ่งพุ่งแรง

จากการรายงานของ UiPath State of RPA Developer Report 2020 เผยให้เห็นว่าผู้เชี่ยวชาญด้าน RPA มองเห็นโอกาสในการทำงานด้านนี้มากขึ้น เนื่องจากตลาดของ Automation System กำลังเป็นที่นิยมสูงถึง70% และ 50% ของธุรกิจทั่วโลกมีแผนที่จะเพิ่มการนำ RPA มาใช้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด ประกอบกับการสำรวจในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน RPA 1,500 คนทั่วโลก พบว่า 92% เชื่อว่าอุตสาหกรรม RPA มีศักยภาพสูงในการเติบโตในอีก 5 ปีข้างหน้า และ 84% เชื่อว่างานของพวกเขาในฐานะนักพัฒนา RPA จะส่งผลดีต่อการก้าวไปสู่อาชีพต่อไป[1]

ด้านมุมมองของ ดร.สันติสุข ลิ้มปิติเจริญโชติ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด กับสายงาน “RPA Developer” กล่าวว่า “ปัจจุบันมีธุรกิจทั่วโลกสร้าง Bot บน Automation Anywhere แล้วมากกว่า 1 ล้านรายการ เพื่อทำงานต่างๆ อัตโนมัติแทนพนักงาน แม้วันนี้จะมี Automation Anywhere เข้ามาช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น แต่บุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลงานด้านนี้ หรือ RPA Developer เป็นอีกหนึ่งสายงานที่สำคัญและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น ซึ่ง STelligence ก็มองหาคนรุ่นใหม่ที่สนใจงานดังกล่าว และพร้อมเปิดโอกาสต้อนรับคนเหล่านี้เข้าสู่การทำงานจริง โดยไม่ยึดติดว่าต้องจบจากสายตรง แต่ขอให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองตลอดเวลา”

สามารถรับชมวิดีโอบทสัมภาษณ์ของพนักงาน STelligence กับการทำงานตำแหน่ง RPA Developer เพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/3Lx6AKK

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก STelligence หรือ หากสนใจเรื่องการทำงาน RPA Developers สามารถติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ที่ช่องทางด้านล่าง

เกี่ยวกับ บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด

เอส เทลลิเจนซ์ (STelligence) ผู้ให้บริการด้านไอทีที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Data Science ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2556  โดยเป็นผู้บุกเบิกในการบริการด้านโซลูชันเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลรายแรกๆ ในประเทศไทย ด้วยรูปแบบ Self-Service Analyst ที่เน้น Citizen Data Scientist เป็นกลยุทธ์หลัก ทั้งนี้ บริษัทฯยังได้ริเริ่มในการนำแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลมาให้บริการด้าน IT Operation and Security Analytics สำหรับการเข้าถึงปัญหาต่างๆ แบบครอบคลุมซึ่งได้รับการตอบรับในตลาดเป็นอย่างดีจนนำไปสู่การขยายโซลูชันที่หลากหลาย อันได้แก่ Business Intelligence (BI), Data Visualization, Self-service Analytics, Machine, Data Science และ Robotic Process Automation (RPA) ด้วยการใช้ AI Cognitive สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ติดต่อฝ่ายขาย โทร.0-2024-6661 และ Email: hello@stelligence.com  ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ Website : STelligence และ Facebook page : STelligence

[1]https://techrseries.com/recruitment-and-on-boarding/uipath-study-finds-that-rpa-professionals-are-seeing-massive-career-opportunities/

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here