ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส หรือ คิวเอส (Quacquarelli Symonds หรือ QS) ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงการอุดมศึกษา ได้เปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก: ภูมิภาคเอเชีย (QS World University Rankings: Asia) ครั้งที่ 15 ซึ่งเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วยจำนวนมหาวิทยาลัย 760 แห่ง ซึ่งผลปรากฏว่ามหาวิทยาลัย 61% มีอันดับลดลง ขณะที่ 14% มีอันดับดีขึ้น ส่วน 15% ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และ 10% เข้ามาติดอันดับเป็นครั้งแรก

มหาวิทยาลัยปักกิ่งครองอันดับ 1 ในเอเชีย โค่นแชมป์เก่าอย่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ที่รั้งอันดับ 1 มานานถึง 4 ปี ก่อนที่จะหล่นมาอยู่ในอันดับ 2 ขณะที่มหาวิทยาลัยชิงหัวครองอันดับ 3 ส่วนในภาพรวมนั้น มหาวิทยาลัยจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาติดอันดับมากที่สุด (128 แห่ง) รองลงมาคืออินเดีย (118 แห่ง) และญี่ปุ่น (106 แห่ง)

20 อันดับแรก
ปี 2566 ปี 2565
1 2 มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University) จีนแผ่นดินใหญ่
2 1 มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) สิงคโปร์
3 5 มหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University) จีนแผ่นดินใหญ่
4 3= มหาวิทยาลัยฮ่องกง (University of Hong Kong) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
5 3= มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) สิงคโปร์
6= 7 มหาวิทยาลัยฟูตัน (Fudan University) จีนแผ่นดินใหญ่
6= 6 มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University) จีนแผ่นดินใหญ่
8 14 สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเกาหลี (KAIST) เกาหลีใต้
9 8 มหาวิทยาลัยมาลายา (Universiti Malaya) มาเลเซีย
10 10 มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiao Tong University) จีนแผ่นดินใหญ่
11 11= มหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo) ญี่ปุ่น
12= 11= มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (CUHK) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
12= 16 มหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University) เกาหลีใต้
14 9 มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮ่องกง (HKUST) เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
15 13 มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University) เกาหลีใต้
16 15 มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University) ญี่ปุ่น
17 18 มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University) เกาหลีใต้
18 17 มหาวิทยาลัยซองคยุนกวาน (Sungkyunkwan University) เกาหลีใต้
19 19 มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan University) ไต้หวัน
20 21 สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว (Tokyo Institute of Technology) ญี่ปุ่น
© QS  https://www.topuniversities.com/
  • ญี่ปุ่นและจีนแต่ละประเทศมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งที่ติด 5 อันดับแรกในด้านชื่อเสียงทางวิชาการและทัศนคติของผู้จ้างงานต่อมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยโตเกียวครองอันดับหนึ่งของตัวชี้วัดทั้งสอง
  • อินเดียมีความเป็นเลิศด้านการผลิตงานวิจัย โดยมีมหาวิทยาลัย 3 แห่งติด 5 อันดับแรกในด้านเอกสารการวิจัย/คณาจารย์
  • หากพิจารณาจากการกระจุกตัวของมหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ พบว่าเกาหลีใต้มีมหาวิทยาลัยที่รั้ง 20 อันดับแรกมากที่สุด ขณะที่มาเลเซียมีมหาวิทยาลัยที่รั้ง 50 อันดับแรกมากที่สุด (17%) รวมถึงรั้ง 100 อันดับแรกมากที่สุด (22%)
  • สิงคโปร์และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงผลิตงานวิจัยที่มีอิทธิพลสูง โดยมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งที่ติด 5 อันดับแรกในด้านการอ้างอิง/เอกสารการวิจัย
  • มหาวิทยาลัยอากาข่าน (Aga Khan University) ของปากีสถานมีความสามารถด้านการสอนสูงสุดในเอเชีย ตามดัชนีชี้วัดด้านคณาจารย์/อัตราส่วนนักศึกษา
  • มีมหาวิทยาลัยหน้าใหม่ 5 แห่งที่เข้ามาติด 100 อันดับแรก โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติอัล-ฟาราบี คาซัค (Al-Farabi Kazakh National University) ของคาซัคสถานเข้ามาในอันดับสูงสุด (อันดับ 44)
  • อิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศที่มีคณาจารย์ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างดีที่สุดของเอเชีย จากดัชนีชี้วัดด้านบุคลากรที่มีวุฒิปริญญาเอก
  • ประเทศไทยประสบความสำเร็จในด้านชื่อเสียงทางวิชาการด้วยอันดับดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีมหาวิทยาลัย 5 แห่งติด 100 อันดับแรก ในขณะที่ฟิลิปปินส์ประสบความสำเร็จในด้านทัศนคติของผู้จ้างงานต่อมหาวิทยาลัยโดยมีมหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์ 4 แห่งติด 100 อันดับแรก
  • เวียดนามมีการพัฒนามากที่สุด โดยมหาวิทยาลัย 55% มีอันดับดีขึ้น

คุณเบน โซวเทอร์ (Ben Sowter) รองประธานอาวุโสของคิวเอส กล่าวว่า “การลงทุนด้านการอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่องและมหาศาลของจีนเป็นรากฐานของความสำเร็จในปัจจุบัน โดยมหาวิทยาลัยปักกิ่งคว้าตำแหน่งมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย ขณะที่มหาวิทยาลัยชิงหัวก็สามารถคว้าอันดับ 3 ไปครอง ส่วนสิงคโปร์ยังคงทำผลงานได้ดี โดยมีมหาวิทยาลัยติด 5 อันดับแรกถึง 2 แห่ง อย่างไรก็ตาม ระบบการอุดมศึกษาของบางประเทศในเอเชียกำลังเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากจำนวนประชากรที่ลดลง”

ที่มา:ลอนดอน-10 พฤศจิกายน 2565–พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here