เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2564 เวลา 09.45 น. พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในการจัดงาน เนื่องในวันสดุดีวีรชนกองทัพเรื อ ประจำปี 2564 ณ อนุสรณ์เรือหลวงธนบุรี โรงเรียนนายเรือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้ อไวรัส (COVID – 19) ทำให้ในปีนี้ กองทัพเรือ ได้ปรับรูปแบบการจัดงานให้มี ความเหมาะสมในรูปแบบ NEW NORMAL โดยลดขั้นตอน และผู้ร่วมงานลง แต่ยังคงไว้ซึ่งพิธีการสำคัญ ประกอบด้วย การวางพวงมาลา และอ่านคำสดุดีวีรชนกองทัพเรือ การจัดพิธีสงฆ์ เพื่อระลึกถึงความกล้าหาญของวี รชนทหารเรือ ที่เสียสละชีวิต เพื่อปกป้องเอกราชและอธิ ปไตยของชาติและยังคงอยู่ในจิ ตใจของทหารเรือทุกนายตราบจนปั จจุบัน โอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบโล่ให้กับผู้ร่ วมรบในสมรภูมิต่างๆ ประกอบด้วย นาวาเอก ประทีป อนุมณี “ประดู่เหล็กแห่ง ดูซงญอ”
และญาติของวีรชนที่เข้าร่วมพิธี ในปีนี้
พิธีสดุดีวีรชนและบำเพ็ญกุ ศลแด่วีรชนของกองทัพเรือ เป็นพิธีสำคัญที่กองทัพเรือจั ดขึ้นเป็นประจำ ในวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เพื่อให้ทหารเรือทุกคนได้ แสดงความเคารพ และระลึกถึงวีรกรรมของบรรพบุรุ ษทหารเรือที่ได้ทำการรบอย่างกล้ าหาญ และยอมพลีชีพ เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติจากศั ตรูที่รุกรานแผ่นดินของเรา
ประวัติศาสตร์ได้จารึกความกล้ าหาญของทหารเรือไทยในยุทธนาวีที่ เกาะช้าง ระหว่าง ไทย กับ ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2484 โดยฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรื อประกอบด้วย เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์ เป็นเรือธง เรือสลุป 2 ลำ และเรือปืน 4 ลำ เรือสินค้าขนาดใหญ่ติดอาวุธ 1 ลำ เรือดำน้ำ 1 ลำ เข้ารุกล้ำน่านน้ำไทยบริ เวณเกาะช้าง จังหวัดตราด เพื่อจะเข้าระดมยิงหัวเมื องชายทะเลทางภาคตะวั นออกของประเทศ กำลังทางเรือของไทยที่รั กษาการณ์อยู่ในบริเวณนั้ นประกอบด้วย เรือหลวงธนบุรี เรือหลวงชลบุรี และ เรือหลวงสงขลา ภายใต้การบังคับบัญชาของ นาวาโทหลวงพร้อมวีรพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี แม้ว่าจะเสียเปรียบด้านกำลั งรบอย่างมากวีรชนทหารเรือไทยได้ ต่อสู้อย่างสุดกำลังความสามารถ จนต้องสูญเสียเรือรบทั้ง 3 ลำไป พร้อมชีวิตนายทหารและลูกเรือ รวมทั้งสิ้น 36 นาย รวมถึง นาวาโทหลวงพร้อมวีรพันธ์ แต่เป็นที่น่าภูมิใจว่าด้วยกำลั งทางเรือของเรา สามารถทำให้ข้าศึกได้รับความเสียหายจนต้องล่าถอยไปในที่ สุด
สำหรับการรบครั้งสำคัญที่ ทหารเรือได้พลีชีพเพื่อชาติ และราชนาวี เมื่อครั้งสงครามโลก ครั้งที่ 2 กองทัพเรือได้รับมอบภารกิจจั ดเรือไปบรรทุกน้ำมัน ซึ่งเป็นยุทธปัจจัยสำคัญจากสิ งคโปร์มายังประเทศไทย ซึ่งในครั้งนั้น เรือหลวงสมุย ได้ปฏิบัติภารกิจลำเลียงน้ำมั นเชื้อเพลิง แม้ทราบว่าเส้นทางลำเลียง
อยู่ในเขตปฏิบัติการของเรือดำน้ำ ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ตาม ในการเดินทางเที่ยวสุดท้าย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พุทธศักราช 2488 เรือหลวงสมุย ได้ถูกยิงด้วยตอร์ปิโดจากเรื อดำน้ำฝ่ายสัมพันธมิตร จมลงที่บริเวณนอกชายฝั่งรัฐตรั งกานู ทำให้กองทัพเรือต้องสูญเสี ยทหารผู้กล้าไปจำนวน 31 นาย รวมถึงสูญเสียกำลังพล ในการต่อสู้ป้องกันการโจมตี ทางอากาศ จากฝ่ายสัมพันธมิตรในแต่ละพื้ นที่ในคราวเดียวกันนี้อีก 7 นาย
นอกจากนี้ยังมียุทธการสำคัญที่ ทำให้กองทัพเรือต้องสูญเสี ยทหารเรือผู้กล้าไปเป็นจำนวนมาก เช่น สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม การปราบปรามผู้ก่อการร้ ายตามแผนยุทธการสามชัย จังหวัดเพชรบูรณ์ยุทธการผาภูมิ ณ บริเวณดอยผาจิ จังหวัดเชียงราย การเข้ายึดค่ายกรุงชิง จังหวัดนครศรีธรรมราช ยุทธการดอนน้อย จังหวัดหนองคาย การรบที่บ้านชำราก จังหวัดตราด เหตุการณ์เรือ ต.98 ปะทะกับเรือประมงติดอาวุธไม่ ปรากฏสัญชาติที่จังหวัดระนอง รวมไปถึงการปฏิบัติภารกิจ เพื่อความสันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้วนแต่เป็นการเสียสละ เพื่อปกป้องสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แลกไว้ด้วยชีวิตทหารเรือเพื่ อให้พี่น้องประชาชนได้มีชีวิ ตอยู่อย่างสันติ